วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต


ความหมายของอินเตอร์เน็ต
         อินเตอร์เน็ต  (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า  “International network”  หรือ  “Inter Connection  network”  ซึ่งหมายถึง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อให้เกิดการสื่อสาร  และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน  โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน  นั่นก็คือ  TCP/IP Protocol  ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย  ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้
                คำว่า เครือข่ายหมายถึง
                1.  การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
                2.  มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
                3.  มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน
หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
                การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่
                อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
                เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
                1.  การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
                2.  อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
                3.  อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
                คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace
        การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง  ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ  ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก

ที่มา : http://www.kruyoon.com/index.php?option=com_content&view=article&id=9:2010-01-31-13-23-44&catid=1:2010-01-27-15-31-00

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
         ช่วงต้นปีคริสต์ศตวรรษ 1960 (ประมาณปี 2503) ซึ่งเป็นยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับโซเวียต มีความเสี่ยงทางการทหารและความเป็นไปได้ที่จะถูกโจมตีด้วยอาวุธปรมาณูหรือนิวเคลียร์ การทำลายล้างศูนย์คอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารจ้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบและในช่วงนี้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ จึงมีแนวคิดในการวิจัยระบบที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้
        อินเทอร์เน็ตจึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า U.S. Defense Department คิดขึ้นเพื่อให้มีระบบบเครือข่ายสื่อสารที่ไม่มีวันตาย แม้จะถูกโจมตีจากสงคราม เรียกเครือข่ายนี้ว่า ARPAnet (Advances Research Project Agency Network)
       จุดเริ่มของ ARPAnet ได้ทำการทดลองเชื่อมคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่ง โดยเริ่มจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย (UCLA) กับสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (SRI) ทั้งสองแห่งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยซานตาบาร์บารา (UCSB) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยแห่งรัฐยูทาห์ (UTAH) ความสำเร็จของเครือข่ายทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา นำมาพัฒนาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail)รับส่งข่าวสาร แฟ้มเอกสารต่าง ๆ ในงานวิจัยทางวิชาการ
      อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหาร แต่โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ (Defense Communications Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริงแล้ว ในปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSE) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี 2533 อาร์พาเน็ตรองรับเป็น backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาท และเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน และได้มีการเชื่อมเครือข่ายต่างๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้
       ปี พ.ศ.2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน้ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ บริษัท ห้างร้าน องค์กรเอกชนต่าง ๆ เริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจ มีการซื้อขายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (E-Commerce) จนเกิดกระแสนความนิยมในธุรกิจดอทคอมมากขึ้น
     จนกระทั่งปี พ.ศ.2528 (ค.ศ.1985) ระบบอินเทอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีที่สมบูรณ์พร้อมรองรับการใช้งานด้านการสื่อสารแพร่ขยายในวงกว้าง โดยเฉพาะการใช้งาน E-Mail, Chat, Telnet, FTP, Gopher, Finger ฯลฯ
      ในประเทศไทยเริ่มใช้งานครั้งแรกใน ปี พ.ศ.2532 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ผ่านระบบโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ) กับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียเพื่อการรับส่งอีเมล และปี พ.ศ.2535 ได้มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างถาวร โดยมีจุดเชื่อมต่อ Gateway 2 แห่ง คือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรก ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่น ๆ
       อินเทอร์เน็ต เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเเข้สู่อินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2535 และในปี 2538 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ร่วมมือกับเอกชนรายแรกโดยใช้ชื่อว่า อินเทอร์เน็ตเคเอสซี (KSC) ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ เรียกโดยย่อว่า ISP (Internet Service Provider)
ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=03-04-2009&group=11&gblog=8



การทำงาน และการเชื่อมต่อแบบต่างๆของอินเทอร์เน็ต

การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้
โดยองค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล มีดังนี้
1. โทรศัพท์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์
3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน
4. โมเด็ม (Modem)
โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital) แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) ดังนั้นเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องใช้โมเด็มเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อถึงปลายทาง
ความเร็วของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps) หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกไป หรือรับเข้ามากี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kpbs จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที
โมเด็มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1.) โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem)
เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน
                2.) โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem)
เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก
3.) โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem
2. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)

1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้
2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)

1.) WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง
2.) GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย
              3.) โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย
4.) เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี
3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS
โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็น Internet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้นมาตรฐานของ IP Address ปัจจุบันเป็นมาตรฐาน version 4 หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IPv4  วึ่งกำหนดให้ ip address มีทั้งหมด 32 bit  หรือ 4 byte  แต่ล่ะ  byte จะถูกคั่นด้วยจุด (.) ภายในหมายเลขที่เราเห็นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
1. Network Address หรือ Subnet Address
2. Host Address 
  รหัสหมายเลขไอพีประจำเครื่อง
          คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่บนเครือข่ายจะมีรหัสหมายเลขประจำเครื่อง รหัสหมายเลขนี้เรียกว่า ไอพีแอดเดรส (IP address) ตัวเลขไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องไม่ซ้ำกัน ตัวเลขนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ให้แต่ละองค์การนำไปปฏิบัติ โดยผู้ที่จะสร้างเครือข่ายต้องการทำการขอหมายเลขประจำเครือ-ข่ายเพื่อกำหนดส่วนขยายต่อสำหรับแต่ละเครื่องเอาเอง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กรหนึ่งทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์สำหรับอิเล็กทรอนิกส์เมลของเครือข่างองค์กร มีหมายเลขไอพีเป็นตัวเลขประจำเครื่อง ขนาด ๓๒ บิต ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ฟิลด์ดังตัวอย่างเช่น
          แต่ละฟิลด์จะมี ๘ ชนิด แต่เมื่อเรียกขานรหัสหมายเลขไอพีนี้ จะใช้ตัวเลขฐานสิบ แบ่งเป็น ๔ ชุด โดยมีจุด (.) คั่นระหว่างตัวเลขแต่ละชุด ดังนั้น จากตัวเลข ๓๒ บิต ดังกล่าวเรียกได้เป็น
          ตัวเลขไบนารี ๓๒ หลัก เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยาก แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ใช้เลขเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง เมื่อกำหนดตัวเลข ๔ ฟิลด์ แต่ละฟิลด์จึงมีขนาดได้ตั้งแต่ ๐ ถึง ๒๕๕ เมื่อนำมาเรียงกันแล้วจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น
        บนเครื่อง computer ที่ใช้ TCP/IP Protocol จะมีหมายเลข IP Address กำกับอยู่ address นี้ เป็นอยู่ใน Layer 3 ของ OSI model ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Logical address) และบนเครื่อง computerไม่ว่าจะใช้ Protocol ใด ๆ ก็ตามจะต้องมีหมายเลข ที่เรียกว่า MAC Address ประจำอยุ่ที่ Network card เสมอ MAC Address นี้เป็น Hardware Address ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เว้นแต่จะเปลี่ยน Network card
เครือข่ายมีหมายเลขประจำ
          การแบ่งหมายเลขไอพีออกเป็น ๔ ฟิลด์นั้นตัวเลขที่ประกอบอยู่เป็นตัวเลขของเครือข่ายด้วยเช่น เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้รหัส 158.108 นำหน้า เครือข่ายของบริษัท
          ไอบีเอ็มที่เป็นเครือข่ายใหญ่ระดับโลกใช้รหัส ๙.นำหน้า เครือข่ายของบริษัทเอทีแอนด์ทีใช้รหัสหมายเลขไอพีเป็น 12 นำหน้า ส่วนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีหลายเลข 192.150.249.นำหน้า เป็นต้น
           เนื่องจากเครือข่ายมีขนาดแตกต่างกันมากดังนั้น จึงมีการกำหนดวิธีการแบ่งประเภทของเครือข่ายออกเป็นหลายคลาส คือ คลาส A คลาส B และคลาส C เป็นต้น
          คลาส A กำหนดตัวเลขฟิลด์แรกเพียงฟิลด์เดียว ที่เหลืออีก ๓ ฟิลด์จึงเป็นรหัสประจำเครื่องหรือรหัสเครือข่ายย่อยที่อยู่ในเครือข่าย คลาส Bกำหนดตัวเลข ๒ ฟิลด์ จึงเหลือให้กำหนดรหัสเครื่อง ๒ ฟิลด์ คลาส C กำหนดตัวเลขไว้ ๓ฟิลด์ จึงมีที่ให้กำหนดรหัสเครื่องเพียงฟิลด์เดียว
          เมื่อพิจารณาตัวเลขรหัสไอพีใดๆหากตัวเลขฟิลด์แรกขึ้นต้นระหว่าง ๑-๑๒๖ ก็จะเป็นคลาส Aถ้าขึ้นต้นด้วย ๑๒๘-๑๙๑ ก็จะเป็นคลาส B และถ้าขึ้นต้นด้วย ๑๙๒-๒๒๓ ก็จะเป็นคลาส C
          ทางองค์กรบริหารเครือข่ายจะเป็นผู้กำหนดหมายเลขเครือข่ายนี้ให้ เป็นที่น่าสังเกตว่า การกำหนดหมายเลขไอพีใช้วิธีกำหนดให้เรียงกันไปใครมาขอลงทะเบียนก่อน ก็จะให้เลขน้อยเรียง ตามลำดับเวลาที่ขอ และเมื่อพิจารณาการเติบโตของเครือข่ายที่ค่อนข้างจะรวดเร็วเช่นนี้ หมายเลขไอพีคงจะเต็มพิกัดครบทุกคลาสในไม่ช้านี้ แต่ทางองค์กรบริหารเครือข่ายก็เตรียมแผนการขยายหมายเลขต่อไปแล้ว โดยเพิ่มขยายหมายเลขไอพีให้มีจำนวนฟิลด์มากขึ้น

Class ของแต่ละ IP Address ดังตาราง

 Class IP Address Network AddressHost Address
 A w.x.y.z w x.y.z
 B w.x.y.z w.x y.z
 C w.x.y.z w.x.y z

ที่มา : http://www.compspot.net/index.php?option=com_content&task=view&id=94&Itemid=46
        
Domain name และการกำหนอชื่อ WWW
ความหมายและประเภทของ Domain name
      โดเมนเนม ( Domain Name) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลกของอินเทอร์เน็ตดังนั้น เพื่อให้เข้าใจเจ้าโดเมนเนมที่แท้จริง เราจะต้องรู้เรื่องพื้นฐานและคำศัพท์เบื้องต้นในโลกของอินเทอร์เน็ตอย่างก่อนเริ่มตั้งแต่คำว่า WWW หรือ World Wide Web หรือ Web หรือ W3 ซึ่งเปรียบได้กับห้องสมุดที่ให้ใครๆเข้ามาสึกษาค้นหาข้อมูลหรือมีข้อมูลสำหรับนำข้อมูลที่มีประโยชน์มาวางแล้วให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุด WWW ซึ่งจะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วๆ ไปตรงที่เป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นประมาณ Electronic Library หรือ e-library นั่นเอง และที่สำคัญคือ ทั้งโลกมีอยู่ห้องเดียว ดังนั้นถ้าคุณเข้ามาหาอะไรแล้วไม่เจอ ก็ไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปหาที่ห้องสมุดอื่นๆ ให้อีกหาอยู่ที่ e-library ที่เดียวมีทุกอย่างที่ต้องการ
ฉะนั้น โดเมนเนม เป็นชื่อที่ขอจดทะเบียนไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต ไม่ได้เป็นชื่อหรือตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

ส่วนประกอบของโดเมนเนม โดเมนเนมจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 สับโดเมน ( Sub Domain Name)
ส่วนที่ 2 Second – Level Domain Name
ส่วนที่ 3 Top – Level Domain

ส่วนที่ 1 สับโดเมน ( Sub Domain Name)
     สับโดเมนเนม เป็น “ คำ” ที่อยู่ก่อนชื่อโดเมนเนม เป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถกำหนดว่าจะให้ URL นี้เชื่อมโยงไปยังส่วนไหนในเว็บไซต์ ซึ่งปกติแล้วมักใช้เป็น WWW ตัวสับโดเมนนี่เป็นของฟรี ไม่มีสับโดเมนอยู่ในตาต้าเบส (Database) ของโลก ไม่ว่าจะใน Network Solution หรือ Thnic ให้ระวังคนหัวใสไปหลอกขาย โดยบอกว่าจะให้ชื่อ yourcompany. « « « .com อย่างที่เคยเห็นอยู่บ่อยๆ เราอาจจะได้เห็นการสับบ่อยของโดเมนเนมในอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ www. « « « .com /yourcompany ซึ่งทั้งสองแบบนี้ คือจะไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังก็จะได้ความหมายเหมือนกัน คือเป็นสับโดเมนย่อยอยู่ภายใต้โดเมนเนม « « « .com ตรงนี้
ในการสร้างสับย่อยๆ ในสับโดเมนเพิ่มขึ้นนั้น ปกติจะไม่ค่อยเสียค่าใช้จ่าย แต่บางครั้งก็อาจจะต้องมีการตั้งค่าหรือเซตอัพบางอย่างที่ยุ่งยากบ้าง ทางบริษัทที่รับทำอาจคิดค่าใช้จ่ายเป็นค่าเซตอัพแทน แต่ก็ไม่แพงมาก อย่างเช่น ถ้าเสียค่าจดโดเมนเนม 1,500 บาท ค่าเซตอัพก็จะประมาณไม่เกิน 1,000 บาท บางบริษัทอาจจะทำให้ฟรี
 
ส่วนที่ 2 Second – Level Domain Name       ในส่วนนี้จะเป็นการตั้งชื่อเป็นอะไรก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของเว็บไซต์หรือผู้จดทะเบียน แต่มีข้อจำกัดอยู่ว่าชื่อตรงนี้ต้องไม่ซ้ำกันกับคนอื่นๆ เพราะจะทำให้เครื่องสับสนว่าจะเข้าในเว็บไซต์ไหนแน่ การตั้งชื่อตรงนี้มีความสำคัญมากกับการที่จะทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลกเพราะจะเป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าจะรู้จัก หรือรู้จักสินค้าและบริการของเว็บไซต์คุณ ลองเปรียบเทียบดูว่าถ้าเราต้องการไปเดินซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า ถ้าเราไปซื้อตามร้านหนังสือจากความเคยชินเราก็จะเดินไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจว่าเป็นร้าน ดอกหญ้า หรือร้านนายอินทร์ เพราะเรามาเดินบ่อย แต่ถ้าเป็นในโลกของอินเทอร์เน็ต เราจะเดินไปได้เราต้องรู้จัก URL หรือชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการเข้าไปดู ดังนั้นซึ่งเราจะมองไม่เห็นชื่อร้านว่าเป็นร้านดอกหญ้า ซึ่งร้านหนังสือที่ประสบผลสำเร็จในการจำหน่ายหนังสือผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ Amazon.com เว็บไซต์ Amazon.com นี่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2538 และเป็นร้านหนังสือรายแรกบนอินเทอร์เน็ต และปัจจุบันมียอดขายสูงสุดถึงปีละหมื่นล้านเหรียญสหรัฐทีเดียว
    เว็บไซด์ที่ประสบความสำเร็จในโลกอินเทอร์เน็ตจะต้องมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่จะทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกได้นั้น เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่า “ ชื่อ” ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะทำให้ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถจดจำได้ดี หลักการตั้งชื่อที่มีดังนี้ 


      1.) ง่ายต่อการจดจำ คือ ต้องเป็นชื่อที่จำง่าย นึกถึงอยู่เสมอ เหมือนกับเวลาจะคุณต้องการทานสุกี้ก็ต้องนึกถึง “MK” เป็นต้น คือพยายามมองโลกให้เหมือนกับคนอื่นๆ ให้มากๆ เข้าไว้ เพราะถ้าเราไปคำนึงถึงคำยากๆ ไม่ค่อยมีใครนึกถึงจะทำให้คนเข้าไปถึงเว็บไซต์ของเราได้น้อย
      2.) สั้นและกะทัดรัดชัดเจน คือ ชื่อเว็บไซต์ที่สั้นถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการตั้งชื่อบนอินเทอร์เน็ตก็ได้ ถามยังสำคัญกว่า การตั้งชื่อบนอินเทอร์เน็ตเสียด้วย เพราะถ้าคุณต้องพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ลงไปในคอมพิวเตอร์ ก็เหตุผลที่ว่าทำไมชื่อเว็บควรสั้นๆ และกระชับ ลองมาดูตัวอย่างชื่อเว็บไซต์อย่างเช่น www.ebusinessisbusiness.com อ่านๆ ดูแล้วจำไม่ง่ายเลย ใช้เวลาพิมพ์ในการพิมพ์นานมากมีโอกาสผิด ถ้าสั้นและกระชับแล้ว ชื่อที่ตั้งก็ควรได้ใจความด้วย อย่างเว็บไซต์ เช่น www.mycom.com ก็สั้น กระชับ เพราะจะทำให้คนที่เข้ามาใช้งานสามารถที่จะจดจำชื่อของเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว 
      3.) สะกดง่ายไม่ซับซ้อน ควรเลือกคำที่ทำให้เกิดการผิดพลาดในการพิมพ์น้อยที่สุด ประเภทที่ต้องมี S หรือไม่มี S หรือมี – หรือ /วุ่นวาย เพราะถ้าไม่ใช่เว็บไซต์ของตัวเอง ไม่ค่อยมีใครมานั่งจำหรอกว่าต้องตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก มีขีดบน ขีดกลางหรือขีดล่าง เขามักจะพิมพ์ชื่อที่นึกขึ้นมาให้ก่อน ถ้าหาไม่เจอก็มักเปลี่ยนไปที่อื่นแทน ไม่สนใจ
      4.) มีความหมายเข้าใจชัดเจน หมายความว่า คำที่จะนำมาใช้เป็นชื่อต้องสื่อถึงเว็บของเราไว้ว่าจุดมุ่งหมายหลักคืออะไร เช่น เป็นเว็บไซต์สำหรับจำหน่ายสินค้า ก็ควรจะมีคำที่เกี่ยวข้องกับจำหน่ายสินค้า หรือทำเว็บไซต์ เกี่ยวกับหนังสือหรือใกล้เคียงกันอยู่บ้างเพราะเวลาค้นหา จะได้ค้นหาได้ง่ายๆ
      5.) ชื่อสะดุดตาง่ายต่อการจดจำ ที่คนรู้จักกันทั่วโลกว่าเช่น www.amazon.com ซึ่งเป็นร้านขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ต หรือ www.google.com เป็นผู้นำในส่วนเว็บไซต์ค้นหาทั้งหมดในโลกและอื่นๆ คุณเห็นอะไรในชื่อเหล่านี้ มันไม่ได้สื่อความหมายอะไรมากมาย แต่เป็นชื่อที่จำง่ายและสะดุดตาคน อ่านหรือได้ยินหรือให้คนอ่านเข้าใจง่าย นี้ก็มักจะทำให้ชื่อเว็บของเราอยู่ในใจของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น
ส่วนที่ 3 Top – Level Domain Top Domain จะมีอยู่ 2 ประเภท อย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ คือ อย่างที่เป็น .co.th กับ แบบที่เป็น .com ซึ่งความจริงไม่ได้จำกัดอยู่แค่นี้ สามารถเป็นแบบอื่นๆ ได้อีก สำหรับตัวอย่างแรกที่เป็น .co.th จะเป็นหลักษณะของการบอกประเภทของเว็บไซต์ของเรา และบอกรหัสประเทศ หรือ Country Code อีก 2 ตัวอักษรซึ่งมีได้หลายแบบ เช่น
.co ย่อมาจาก Commercial เป็นบริษัทหรือองค์กรที่ทำการค้าหวังกำไร
.ac ย่อมาจาก Acdemy เป็นสถาบันการศึกษาต่างๆ
.or ย่อมาจาก Organization เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาโดยไม่หวังผลกำไร
.go ย่อมาจาก Government เป็นหน่วยงานของรัฐบาล

โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ

ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
  1.  โดเมน 2 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
  2.  โดเมน 3 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ


โดนเมนเนม 2 ระดับ
จะประกอบด้วย  www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้

    * .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
    * .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
    * .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
    * .edu คือ สถาบันการศึกษา
    * .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
    * .mil คือ องค์กรทางทหาร
    
โดนเมนเนม 3 ระดับ  จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
 ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ

    * .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
    * .ac คือ สถาบันการศึกษา
    * .go คือ องค์กรของรัฐบาล
    * .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
    * .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร

ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร

    * .th   คือ ประเทศไทย
    * .cn  คือ ประเทศจีน
    * .uk  คือ ประเทศอังกฤษ
    * .jp   คือ ประเทศญี่ปุ่น
    * .au  คือ ประเทศออสเตรเลีย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
การขอจดทะเบียนโดเมน
การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ
1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
.co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
.go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
.net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
.or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป

 Web browser  Web Browser หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนสื่อในการติดต่อกับเครือข่าย หรือ เน็ตเวิร์คขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประวัติความเป็นมาของ Web browser
ทิม เบอร์เนอร์ส ลี แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบ Hypertext โปรแกรมค้นดูเว็บตัวแรกมีชื่อ ว่า เวิลด์ไวด์เว็บ แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจังเมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์ แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นดูเว็บเชิงกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสกก็ได้ออกไปเปิดบริษัท Netscape
มาตรฐานของ Web browser
Web browser เชื่อมโยงกับweb server ผ่านมาตรฐานหรือ Protocol แบบ HTTP ในการส่งหน้า เว็บ หรือเว็บเพจ ซึ่งสนับสนุนโดย Web browser ทั่วไป ยกเว้น Internet explorer ที่ยังสนับสนุนไม่เต็มที่ ที่อยู่ของเว็บเพจเรียกว่า URL หรือ URI ซึ่งรูปแบบมักจะเริ่มต้นด้วยคำว่า http:// สำหรับการติดต่อ แบบ http Web browser ส่วนมากสนับสนุนการเชื่อมต่อรูปแบบอื่นนอกจากนี้ เช่น ftp:// สำหรับ FTP https:// สำหรับ http แบบสนับสนุนการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น รูปแบบของไฟล์สำหรับเว็บเรียกว่า HTML และสนับสนุนไฟล์รูปแบบอื่นๆ เช่น รูปภาพ (JPG, GIF, PNG) หรือเสียง
รายชื่อ web browser ยอดนิยมได้แก่ Windows internet explorer(IE),Mozilla firefox,opera,Chrom

ประโยชน์ของ Web Browserสามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
                ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ.. 2535 โดยเริ่มที่สำนัก วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ.. 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆ ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ
                สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC) บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
                1.  อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
                2.  คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
                3.  ความเร็วของสายที่ใช้
                4.  พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่า เพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร
ระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย มีดังนี้
ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อภายในประเทศ
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถเลือกเช่าช่องสัญญาณได้โดยเสรี ทั้งจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท. (Communication Authority of Thailand: CAT) เทเลคอมเอเชีย (TelecomAsia) และ ดาต้าเน็ต (DataNet) โดยวงจรของทุกราย จะเชื่อมต่อกับจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ เพื่อความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูล นั่นคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างคู่สื่อสารในประเทศไทย สามารถทำได้สะดวก ไม่ว่าคู่สื่อสารนั้น จะใช้บริการของ ISP รายใดก็ตาม ทั้งนี้จุดแลกเปลี่ยนในปัจจุบันได้แก่ IIR (Internet Information Research) ของเนคเทคและ NIX (National Internet Exchange) ของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย
ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
การให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องผ่านการสื่อสารแห่งประเทศไทยเท่านั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้ทำการส่งข้อมูล เข้า-ออก ของประเทศไทยโดยปราศจากการควบคุมของ กสท. โดย ISP จะเชื่อมสัญญาณเข้ากับ IIG (International Internet Gateway)


บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator
2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการทำงานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลแอดเดรส (E-mail address)
องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
1.) ชื่อผู้ใช้ (User name)
2. )ชื่อโดเมน
Username@domain_name
การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1.) Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
2.) Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail
3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol) เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1.) การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com
2). การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander
                4 บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message) สนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ การ     ส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ (I seek you) MSN Messenger, Yahoo Messenger เป็นต้น
     5 บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
1.) Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com
2.) Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com, www.google.co.th, www.sansarn.com
3.) Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch เช่น www.search.com, www.thaifind.com
      6. บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด (Web board)เว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com)
      7. ห้องสนทนา (Chat Room)ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน การเข้าไปสนทนาจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนาเช่น www.sanook.com www.pantip.com


นอกจากนี้ยังมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้บริการ  ได้แก่                      
1. บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
องค์ประกอบของการต่ออินเทอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN
1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล
2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps
3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับ NTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, Internet Thailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )
2. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงโดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวี ความเร็วของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม
1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล(Coaxial )
2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิลโมเด็ม
3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ Asia Net
3. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
 ADSL เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูงนี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลด ที่ 64 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลด ที่ 128 Kbps และ ดาวน์โหลด ที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ADSL
1.     ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น
4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet)
เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download) ด้วยความเร็วสูงในระดับเมกะบิตต่อวินาที แต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยดาวเทียม
1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก
2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
                        เราสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้หลายด้าน ขึ้นกับลักษณะการใช้งานของเรา ซึ่งเราสามารถสรุปแนวทางได้ดังนี้
  1. สื่อสารกับผู้อื่น เราสามารถใช้อินเตอร์เน็ตสื่อสารกับผู้อื่นได้ไม่ว่าจะอยู่ไกลเพียงใดก็ตาม เช่นการส่งเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การสนทนาผ่านเครือข่าย (Chat) เป็นต้น
  2. แหล่งความรู้  อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนแหล่งความรู้ ที่มีข้อมูลมากมายที่เราสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งไม่เป็นเพียงข้อความเท่านั้น แต่มีทั้งเสียง ภาพ ภาพยนตร์ แหล่งข่าวสาร และความบันเทิง เราสามารถติดตามข่าวล่าสุด ดูหนังฟังเพลง และภาพยนตร์ล่าสุด ไม่ว่าจากในประเทศ หรือต่างประเทศ
  3. ศูนย์รวมสารพัดโปรแกรมใช้งาน และ เกม ในอินเตอร์เน็ตมีโปรแกรมใช้งาน และเกมมากมายที่เราสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งมีตั้งแต่โปรแกรมประเภทฟรีแวร์ (freeware) ที่เรานำมาใช้ได้ฟรี หรือโปรแกรมประเภทแชร์แวร์ (shareware) ที่ให้เราทดลองใช้ก่อน และซื้อมาใช้จริงหลังหมดเวลาทดลอง 

 

3 ความคิดเห็น:

  1. ฉัน เงินให้กู้ยืมเงินกู้ หน่วยงาน IDEAL

    พวกเขามี เอกชน เงินให้กู้ยืม เพื่อการพาณิชย์และ ส่วนบุคคลที่มี ต่ำมาก อัตราดอกเบี้ย ปี ที่ต่ำเป็น 3 % ในหนึ่งปี ถึง 50 ปี ระยะเวลา การชำระหนี้ ใดก็ได้ในโลก เรามี เงินให้สินเชื่อ ตั้งแต่ $ 5000 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    เงินให้กู้ยืม ของพวกเขา เป็นผู้ประกันตน ได้ดีสำหรับการ รักษาความปลอดภัยสูงสุด เป็นลำดับความสำคัญ ของพวกเขา คุณ สูญเสีย การนอนหลับ เวลากลางคืน กังวล ว่าจะได้รับ ผู้ให้กู้ สินเชื่อที่ถูกต้องตามกฎหมาย ?

    ผม สมัครได้อย่างไร E-mail: idealfinance_ltd@live.com
    กรุณากรอก แบบฟอร์มใบสมัคร ด้านล่างนี้ :

    แบบฟอร์ม การสมัครขอสินเชื่อ
    * ชื่อของคุณ เต็ม
    * อีเมล์ของคุณ
    * โทรศัพท์ของคุณ เต็ม
    * ที่อยู่ ของคุณ
    * City แล้ว
    รัฐ / จังหวัด *
    * ประเทศ ของคุณ
    * หมายเลขโทรสาร
    วันที่ เกิด *
    คุณ มีบัญชีอยู่แล้ว *
    คุณได้ ประยุกต์ มาก่อนหรือไม่ *
    * รายได้ต่อปี
    วงเงินกู้ ที่จำเป็น *
    * เงินกู้ ระยะเวลา
    วัตถุประสงค์ของการ กู้ยืมเงิน *
    ส่งสแกนสำเนา บัตรประจำตัว ของคุณ : *


    ติดต่อ หน่วยงาน IDEAL เงินกู้ยืม ( บริการด้านสินเชื่อ ) ตอนนี้ ผู้เชี่ยวชาญที่ สามารถ ช่วยให้ได้รับ เงินให้กู้ยืม เพื่อหยุด ประวัติเครดิต ที่ดีที่จะ หาทางออกให้ ชนะ

    กรุณาติดต่อ พวกเขาสำหรับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ idealfinance_ltd@live.com

    เจ้าหนี้ : นาย จอห์น วิลเลียม
    ผู้ให้กู้E-mail: idealfinance_ltd@live.com

    ขอแสดงความนับถือ
    เจ้าหนี้ นาย จอห์น วิลเลียม
    ที่ปรึกษา ทั่วไป

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2558 เวลา 14:18

    วันดีที่ทุกท่านผมนายแจ็คอุ่น, ถูกต้องตามกฎหมายให้กู้เงินที่มีชื่อเสียง เราให้ออกเงินให้กู้ยืมแก่ บริษัท ธุรกิจผู้ชายและผู้หญิงที่มีทำรายการธุรกิจเราให้ออกเงินกู้ระยะยาวสำหรับสามถึง 30 ปีสูงสุดที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ 3% ในการนี้คุณเป็นอย่างดีสามารถบอกเราจำนวนเงินที่คุณต้องเป็นเงินกู้ . สินเชื่อที่ปล่อยออกมาในยูโรปอนด์และ $ USD สูงสุดที่เราให้เป็น 500,000,000 ทั้งในยูโรปอนด์และ $ USD และขั้นต่ำ 5,000 ยูโรปอนด์และดอลลาร์สหรัฐดังนั้นหากคุณจริงๆมีความสนใจติดต่อเราได้ที่ (jackwarmerloanlender@gmail.com) มานาน ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่จะได้รับเงินกู้

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ15 มกราคม 2558 เวลา 14:19

    วันดีที่ทุกท่านผมนายแจ็คอุ่น, ถูกต้องตามกฎหมายให้กู้เงินที่มีชื่อเสียง เราให้ออกเงินให้กู้ยืมแก่ บริษัท ธุรกิจผู้ชายและผู้หญิงที่มีทำรายการธุรกิจเราให้ออกเงินกู้ระยะยาวสำหรับสามถึง 30 ปีสูงสุดที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ 3% ในการนี้คุณเป็นอย่างดีสามารถบอกเราจำนวนเงินที่คุณต้องเป็นเงินกู้ . สินเชื่อที่ปล่อยออกมาในยูโรปอนด์และ $ USD สูงสุดที่เราให้เป็น 500,000,000 ทั้งในยูโรปอนด์และ $ USD และขั้นต่ำ 5,000 ยูโรปอนด์และดอลลาร์สหรัฐดังนั้นหากคุณจริงๆมีความสนใจติดต่อเราได้ที่ (jackwarmerloanlender@gmail.com) มานาน ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่จะได้รับเงินกู้

    ตอบลบ